อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำการขับเคลื่อนด้านสุขภาพจิตฯ ณ โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี จังหวัดนครปฐม

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี จังหวัดนครปฐม   สสส. ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำการขับเคลื่อนด้านสุขภาพจิตจากภาคการสื่อสารและบันเทิง เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศสุขภาพจิตแบบยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานเปิดกล่าวเปิดการประชุม  แพทย์หญิงดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิตและประธานที่ปรึกษาโครงการพัฒนาผู้นำการขับเคลื่อนด้านสุขภาพจิต กล่าวรายงาน

กรมสุขภาพจิตตระหนักถึงผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกในรูปแบบต่าง ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตระยะสั้นและระยะยาว เช่น ปัญหาโรคระบาด (pandemic) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) ปัญหาภัยพิบัติจากธรรมชาติและมนุษย์ (naturaland man-made disaster) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสงคราม (political conflict and war)และปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทางธรรมชาติ (resource depletion) เป็นต้น ซึ่งปัญหาแต่ละประเภทอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มประชากรและพื้นที่ทั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในการให้ประชาชนเกิดความตระหนักต่อการมีสุขภาพจิตแบบยั่งยีนหรือ sustainable menta health ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงแต่จะน้นการสร้างระบบดูแลด้านสุขภาพจิตและสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องมีการประยุกต์บริบทความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมและโลกเข้าไปกับการสร้างสุขภาพจิตที่ดีด้วยหลักสูตรเพื่อการพัฒนาผู้นำการขับเคลื่อนด้านสุขภาพจิต จากภาคสื่อสารประชาสัมพันธ์และบันเทิงเพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศสุขภาพจิตแบบยั่งยืนในโครงการนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างระบบนิเวศสุขภาพจิตแบบยั่งยืนของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นที่ความเข้าใจของสังคมในวงกว้างถึงความสำคัญและประโยชน์ของการมีสุขภาพจิตแบบยั่งยืน (sustainable mental health) เพื่อเพิ่มสุขภาพจิตที่ดี (increase mental well-being) และ ลดปัญหาโรคทางจิตเวช(reduce mentalillness) ซึ่งผู้ที่สามารถขับเคลื่อนแนวคิดและระบบนิเวศนี้ได้ในวงกว้าง คือผู้ที่ทำงานด้านการสื่อสารและผู้ที่มีผู้ติดตามในสังคมเป็นจำนวนมาก โดยประกอบด้วย นักข่าว นักเขียนบทละคร Social Influencer และสื่ออื่น โดยในที่นี้หมายถึงประชาสัมพันธ์จังหวัดและสื่อมวลชนท้องถิ่น จึงถือเป็นกลุ่มคนที่สำคัญที่จะนำเป็นก้าวสำคัญแรกในการนำประเทศไทยไปสู่การมีสื่อสารส่งเสริมสุขภาพจิตแบบยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ(United Nations) ที่มีมุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพโดยรวมแบบยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าสถานการณ์ในประเทศไทยจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิตที่กินเวลามายาวนาน ทำให้ประชาชนในหลายกลุ่มต้องปรับตัวและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนจึงยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะผลกระทบที่ต่อเนื่องต่อมาคือเรื่องของเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ทั้งในครอบครัวและเพื่อฝูงและประเด็นที่พบว่ารุนแรงมากขึ้นและพบได้บ่อยคือเรื่องของภาวะเหนื่อยล้ หมดไฟ จนนำไปสู่ความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าที่ใต่ระดับตามมาเรื่อย ที่สำคัญอัตราแนวโน้มการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ก็เป็นสถานการณ์ที่พบกันทั่วทั้งโลก ซึ่งประเทศไทยนั้นถือว่ามีความเข้มแข็งและมีความยืดหยุ่นทางจิตใจ มีพลังใจค่อนข้างดี สิ่งนี้สะท้อนได้จากความทุกข์หรือความเครียดเข้ามาในสังคม โดยสิ่งที่อาจกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติของสุขภาพจิต ได้แก่ การได้รับบาดแผลทางจิตใจ การถูกทอดทิ้ง การเกิดภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมหรือความเปล่าเปลี่ยวอ้างว้าง

ทั้งนี้ การรู้ถึงสัญญาณของความผิดปกติถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมในเวลาอันรวดเร็ว การดูแลส่งเสริมสุขภาพจิตของคนไทยเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้จากระบบคลังข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการตามการรักษาจากทุกสิทธิ์รวมกันทั้งสิ้น 2,519,255 คนปัญหาที่เกิดขึ้นกับสุขภาพจิตนั้นมีอยู่หลากหลาย ทั้งโรคและภาวะที่พบได้มาก อาทิ ภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล (AnxietyDisorders) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder:OCD) โรคจิตเภท (Schizophrenia) หรือโรคจิต (Psychosis) ซึ่งลักษณะอาการโดยทั่วไปของปัญหาทางจิตเวชเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับความคิด การรับรู้ อารมณ์ รวมถึงความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย

จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูล Mental Heatth Check In (MHC) ในประชาชนทั่วไป ยังคงมีความเครียดจากหลายปัจจัยรวมถึงสถานการณ์วิกฤตต่าง เช่น ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 โดย ตั้งแต่ ปี 2563 พบเครียดสูง ร้อยละ1.73 มีความเสี่ยงซึมเศร้า ร้อยละ 1.9 มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย ร้อยละ 0.73 มีภาวะหมดไฟ ร้อยละ 2.27 ปี 2564 พบเครียดสูง ร้อยละ 10.47 มีความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ12.38 มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย ร้อยละ 6.9 มีภาวะหมดไฟ ร้อยละ 4.7 และในปี 2565 พบเครียดสูงร้อยละ 4.36 มีความเสี่ยงซึมเศร้า ร้อยละ 5.45 มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย ร้อยละ 2.95 มีภาวะหมดไฟ ร้อยละ 4.59 โดยพบประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต ทั้งสิ้นจำนวน 78,9 14 ราย ได้รับการดูแลติดตามต่อเนื่องในระบบสาธารณสุขแล้ว จำนวน70,234 ราย คิดเป็นร้อยละ 89 อีกด้วย

การที่ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ด้านสุขภาพจิตจึงไม่ได้จำกัดเพียงการรับบริการทางการแพทย์เท่านั้น เพราะในยุคปัจจุบันประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อได้ง่ายสามารถเข้าถึงช่องทางความรู้ต่างๆ ได้ด้วยตนเอง รวมไปถึงประชาชนบางรายมีศักยภาพที่สามารถเป็นสื่อที่สามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้ สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อีกด้วย

การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมป้องกัน และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหา อาการหรือวิธีการแก้ไขทางสุขภาพจิตโดยกลุ่มผู้นำทางความคิดจึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้การสื่อสารทางด้านสุขภาพจิตเข้าถึงประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ซึ่งบทบาทของผู้นำทางความคิดในแต่ละกลุ่มจะมีความต้องการในการสื่อสารสุขภาพจิตที่แตกต่างกัน โดยจากการประชุมกลุ่มย่อยและสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายพบว่า

กลุ่มนักข่าวมีความต้องการในการสื่อสารสารที่ถูกต้อง และไม่ส่งผลกระทบอันจะนำมาสิ่งผลกระทบต่อประชาชน กลุ่มนักเขียนมีความต้องการจะขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตโดยการถ่ายทอดการส่งเสริม ป้องกันทางด้านสุขภาพจิต ให้ประชาชนเข้าใจถึงสาเหตุอาการ และผลกระทบที่จะกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สามารถเข้าใจได้ง่าย และไม่วิชาการมากจนเกินไป

กลุ่มตัวอย่างของ Social Infuencer มีความต้องการสร้างเนื้อหาในการผลิตสื่อเชิงบวกวิธีการสังเกตอาการ วิธีการแก้ไขด้วยตนเองและช่องทางการช่วยเหลือเพื่อเผยแพรให้กับกลุ่มเป้าหมายของตนเองประชาสัมพันธ์จังหวัดและสื่อมวลชนท้องถิ่น และกลุ่มสื่ออื่น 1 ต้องการที่จะเข้าถึงผู้ให้ข้อมูลและการร่วมทำงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อป้องกันและสนับสนุนการทำงานสื่อสารสุขภาพจิตในภาวะวิกฤตจากความต้องการเบื้องตันกรมสุขภาพจิตจึงได้รวบรวมองค์ความรู้ ทักษะ ช่องทาง การฝึกอบรม เนื้อหา ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานและสื่อสารของผู้นำต้นแบบอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาวอย่างยั่งยืน

Related posts