ผู้ตรวจการแผ่นดินประกาศผลประกวดสโลแกน “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” และเปิดตัว Line Official Account : @OMBUDSMAN พร้อมแถลงผลงานประจำปี 2563

วันที่ 26 พฤศจิกายน ..2563 ผู้ตรวจการแผ่นดินประกาศผลและมอบรางวัลกิจกรรมเวทีของคนช่างคิด (Ombudsman Awards)” การประกวดสโลแกน ในแนวคิดombudsman องค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐ พร้อมเปิดตัว LINE Official:@OMBUDSMAN ,  Line Chatbot , Line Stickers ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และแถลงผลงานประจำปี 2563 ห้องออดิทอเรี่ยม โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเว็นชั่นเซ็นเตอร์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพ เผยสถิติรับเรื่องร้องเรียนที่ผ่านมา (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563) มีเรื่องร้องเรียน จำนวน 4,948 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 3,059 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 1,889 เรื่อง

สำหรับสถิติการรับเรื่องร้องเรียนตั้งแต่ก่อตั้งสำนักงานปี 2543 ถึงปีงบประมาณ 2563 รับเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น จำนวน 50,489 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 48,598 เรื่องคิดเป็นร้อยละ 96.25 พบประเด็นร้องเรียนเกี่ยวกับตำรวจสูงสุด รองลงมาเป็นการเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่น

    พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคส่วนได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน และถ่ายทอดความคิด ผ่านสโลแกนที่จะสะท้อนถึงหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในแนวคิดผู้ตรวจการแผ่นดิน(ออมบุสแมน) องค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐซึ่งโครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นมา มีนักเรียน นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมจากทั่วประเทศส่งผลงานเข้าประกวด 163 ผลงาน โดยผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมA โดย นายอติชาต ศรีธีระวิโรจน์ ผลงานสโลแกนตรวจสอบรัฐช่วยประชา แก้ปัญหาไม่ชอบธรรม”  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Justice Power โดยนางสาวศิรภัสสร จำปา และคณะ ผลงานสโลแกนตรวจสอบอย่างโปร่งใส วินิจฉัยโดยชอบธรรมและรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม 30 Young แจ๋ว โดยนายกิตติพศ พึ่งงาม ผลงานสโลแกนตรวจสอบอำนาจรัฐ ขจัดความไม่เป็นธรรม

   พลเอก วิทวัส กล่าวต่อว่า ตลอด 20 ปีในการปฏิบัติภารกิจเพื่อเดินหน้าแก้ไขเยียวยาบรรเทาทุกข์ของประชาชน ผู้ตรวจการแผ่นดินตั้งอยู่บนหลักการทำงานขององค์กรอิสระ คือกล้าหาญ สุจริต และเที่ยงธรรมและพร้อมเดินหน้าก้าวสู่ปีที่ 21 ด้วยการยกระดับและพัฒนางานด้านสอบสวนให้เทียบเท่าสากล มีการดำเนินงานอย่างรัดกุมรวดเร็ว ด้วยการใช้เทคโนโลยีให้สามารถรองรับระบบการแสวงหาข้อเท็จจริงได้หลากหลายมิติและทันเหตุการณ์ยิ่งขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยล่าสุดได้พัฒนา  2 ช่องทางใหม่ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียนของผู้ตรวจการแผ่นดินได้ตลอด 24 ชั่วโมง คือ Line Official  : @Ombudsman ซึ่งเมื่อประชาชนเพิ่มเพื่อน ใน ID @Ombudsman แล้ว สมาชิกสามารถติดต่อ สอบถาม เข้ามาพูดคุย ในทะเบียนดังกล่าวของสำนักงานได้ พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยง (Link) ไปยังApplication การร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และเว็บไซต์ของสำนักงาน รวมถึงสามารถดาวน์โหลด E-Book ของสำนักงาน และภาพข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ตลอดจนการเชื่อมโยงกับคิวอาร์โค๊ดต่างๆ ของสำนักงาน สำหรับอีกหนึ่งช่องทาง คือLINE Chatbot  ระบบการตอบคำถามโดยอัตโนมัติที่จะส่งคำตอบข้อมูลที่เป็นสาระความรู้ เมื่อมีผู้สอบถามเข้ามาในระบบ ซึ่งสำนักงานได้จัดทำชุดคำตอบที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ช่องทางการร้องเรียน ช่องทางการติดต่อมายังสำนักงาน ทำเนียบผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้บริหารของสำนักงาน รวมถึงมีกิจกรรมร่วมสนุกต่างๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แบบสองทาง ( Two Way Communication) สามารถทราบผลตอบรับหรือ Feedback ของกลุ่มเป้าหมายได้ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ วันนี้ได้เปิดตัว LINE Stickers  ในชุด Ombudsman Boy และ Ombudsman Girl ซึ่งผู้สนใจสามารถdownload สติ๊กเกอร์ของสำนักงาน หรือส่งเป็นของขวัญให้กับเพื่อนได้ ซึ่งการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทาง LINE Application นี้มุ่งเป้าให้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับประชาชน ได้สะดวก รวดเร็ว สามารถเข้าถึงและใกล้ชิดประชาชนได้มากยิ่งขึ้น

     ในส่วนแนวคิดเรื่องการยกระดับมาตรฐานการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้ตรวจการแผ่นดิน จะมุ่งให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเชิงระบบซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน จากการศึกษาข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน โดยผู้เชี่ยวชาญที่ทรงความรู้เรื่องนั้น ควบคู่ไปกับการบูรณาการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อลดการร้องเรียนในกรณีคล้ายกัน ที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณชนในวงกว้างและได้แก้ไขเชิงระบบ เช่น การแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางน้ำ ผลักดันให้เกิดมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมในการแจ้งเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่อง การส่งข้อมูลข่าวสารแจ้งเตือนภัยธรรมชาติผ่านบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รวดเร็วสามารถหลีกเลี่ยงหรือเตรียมตัวตั้งรับกับสถานการณ์การเกิดภัยพิบัติต่าง อย่างทันท่วงที ไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมาตรการต่างๆของรัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการผลักดันยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตรกรรม ประกอบด้วย พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ซึ่งภาครัฐบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ..2561-2580 มีสาระสำคัญมุ่งสู่การเลิกใช้สารเคมีในภาคเกษตร และให้เพิ่มพื้นที่และปริมาณการผลิตเกษตรอินทรีย์ต่อไป

     สำหรับในด้านความร่วมมือกับต่างประเทศได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในระหว่างทั้งสองประเทศร่วมกัน พัฒนาช่องทางการร้องเรียนและยกระดับวิชาชีพของผู้ตรวจการแผ่นดินในภูมิภาคแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ นอกจากนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินหัวข้อ“Ombudsman in a changing world: resilience amidst challenges” (ผู้ตรวจการแผ่นดินในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง : ปรับตัวอย่างไรกับความท้าทายที่เกิดขึ้น) ซึ่งได้ผลักดันให้เกิดความร่วมมือพหุภาคีระหว่างองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และองค์กรจัดการเรื่องร้องเรียน (Public complaints agencies) ในภูมิภาคที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน หรือ “South East Asian Ombudsman Forum : SEAOF” เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายของสมาชิกทั้งเชิงวิชาการ รวมถึงการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้อำนาจรัฐ และการดำเนินการศึกษาวิจัยในประเด็นที่มีผลกระทบต่อส่วนรวมในระดับภูมิภาค โดยนำผลการศึกษาวิจัยไปพิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานรัฐโดยภาพรวม เพื่อพัฒนากระบวนการให้บริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป พลเอก วิทวัส กล่าว

Related posts