พช.ศรีสะเกษ สืบสาน รักษา ต่อยอด “โคก หนอง นา พช.” ปลูกป่า 5 ระดับ ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง สู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ของโรงเรียน

วันที่ 20 กันยายน 2564 นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้นายเอกชัย ว่องไว พัฒนาการอำเภอปรางค์กู่ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ นางสมถวิล ทวีชาติ ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต โคก หนอง นา พช. ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก เพื่อศึกษาดูงานพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน สวนซูนแซมซาย ห่มดินชุ่มดาว หมู่ที่8 บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเรียนรู้ การบริหารจัดการพื้นที่ แนวคิดการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา พช.” จากพื้นที่จริง เพื่อเข้าถึงบริบทของพื้นที่ ปรับเปลี่ยนแนวคิด นำภูมิปัญญา วัฒนธรรม มาบูรณาการ กับ 8 กลุ่มวิชาสาระการเรียนรู้ ได้แก่กลุ่มวิชาภาษาไทย กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มวิชาศิลปะ กลุ่มวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ

นายเอกชัย ว่องไว พัฒนาการอำเภอปรางค์กู่  เปิดเผยว่า การดำเนินกิจกรรมในการศึกษาดูงานในครั้งนี้ คณะศึกษาดูงาน ได้เรียนรู้กิจกรรม ต่างๆ ในศูนย์เรียนรู้การปลูกป่า 5 ระดับ ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง พร้อมฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1.มีป่าครอบครัว 2.การอนุรักษ์ การเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่า 3.การอนุรักษ์สายพันธุ์ข้าว มี 9 ชนิด 4.การเลี้ยงปลาในนาข้าว 5.การเพาะเชื้อเห็ดป่า 6.การขยายหัวเชื้อน้ำหมักพันปี7.การทำน้ำยาเอนกประสงค์ 8.ฐาน ตนรักแม่ ธรณีการเลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยง 9.ฐานคนมีไฟ 10.ฐานคันนา ทองคำ 11.การเพาะพันธุ์ปลา 12.การเลี้ยงหอยขม หอยปัง หอยนาหอยโข่ง 13.การเลี้ยงกบ 14.การเลี้ยงปู 15.อนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน 16.การเลี้ยง กุ้งฝอย กุ้งน้ำจืด และหลังจากได้เรียนรู้ตามฐานเรียนรู้ดังกล่าวแล้ว คณะครูและนักเรียนได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ นางสมถวิล ทวีชาติ เจ้าของศูนย์เรียนรู้

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม เอามื้อสามัคคี ลงแขกดำนา และหาวัตถุดิบอาหารในพื้นที่โคก หนอง นา พช.”มาประกอบอาหารรับประทานร่วมกัน เป็นศึกษาทางภาคปฎิบัติและโคก หนอง นาสามารถตอบโจทย์

การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง โดยคณะศึกษาดูงานประกอบด้วย ครู 15 คน นักเรียน 10 คน จากโรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษกตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ดำเนินการโครงการสืบสนรักษาต่อยอดโคกหนองนา ในพระราชดำริ โคก หนอง นาแห่งน้ำใจและความหวัง มีเป้าหมายพัฒนาพื้นที่ของโรงเรียนจำนวน 4 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน เป็นการถ่ายทอดการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติแก่นักเรียน และผู้สนใจในสถานศึกษา

ว่าที่ร้อยตรีศุภชัย จันครา ผู้อำนวยการโรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก กล่าวว่ารู้สึกยินดีที่ได้มาศึกษาดูงาน การพัฒนาพื้นที่ โคก หนอง นา สวนซูนแซมซาย ห่มดินชุ่มดาว  ที่สามารถตอบโจทย์ชีวิตได้เพราะดูจากพื้นที่ คือ ปลูกป่า 5 ระดับ ได้ทั้ง โคกหนอง นา และคลองไส้ไก่ ได้ทั้ง ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจเป็นการสร้างคลังอาหาร สร้างความมั่นคงให้กับชีวิตได้ และเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี  ด้านตัวแทนคุณครู กล่าวว่าชอบมากค่ะ จะนำการแลกเปลี่ยนในวันนี้ไปขยายผล เพราะสามารถพึ่งพาตนเองได้จริงๆ โคก หนอง นา ทำให้มีเหลือกินสำหรับครอบครัว จนแบ่งปันแก่ครอบครัวอื่นและชุมชนได้ค่ะ เมื่อวานได้แบ่งปันสายพันธุ์ข้าว4 สายพันธุ์ ให้โรงเรียนไปขยายผลรักษาต่อยอดพันธุ์ข้าว และพืชอีกหลายชนิดค่ะด้านตัวแทนนักเรียน กล่าวว่าชอบค่ะ เพราะไม่เคยเห็นที่ไหนเป็นแบบนี้ โคก หนองนา ที่นี่ อยากกินอะไรก็สามารถ เก็บ หยิบ จับต้องได้ ชอบมากค่ะ จะนำไปเป็นแบบอย่าง เพื่อพัฒนาที่โรงเรียน ให้มีคลังอาหารให้เด็กได้ทานและได้มีฐานเรียนรู้ให้ชุมชนอื่นๆเหมือนที่นี่ค่ะ

จากการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อช่วยเหลือเยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบได้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย

โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้เสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นา พช.” เป็นการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนพึ่งตนเองได้

Related posts