นครปฐม ผบช.ภ.7 บูรณาการออกตรวจสถานที่เก็บเนื้อสุกร เพื่อป้องกันการกักตุนสินค้า

ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ลงพื้นที่ตรวจสถานที่ที่เก็บเนื้อสุกร ในจังหวัดนครปฐม เพื่อป้องกันการกักตุนสินค้าจากกรณีที่เนื้อสุกรชําแหละมีราคาสูง

วันที่ 21 มกราคม 2565 ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม พลตำรวจโทธนายุตม์  วุฒิจรัสธำรงค์  ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 พร้อมด้วยนายสมเกียรติ พูลสุขเสริม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ,ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ,ปลัดจังหวัดนครปฐม,ปศุสัตว์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการออกตรวจสถานที่เก็บเนื้อสุกร ที่บริษัท เฮียซน (ลูกเกษ) จำกัด .6  .นครปฐม .เมือง.นครปฐม และบริษัท เฟรชมีท โพรเซสซิ่ง จำกัด .2 .ขุนแก้ว .นครชัยศรี.นครปฐม

จังหวัดนครปฐมมีสถานที่เก็บเนื้อสุกรทั้งหมด 30 แห่ง แบ่งเป็นพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม 16 แห่ง อำเภอสามพราน 5 แห่ง อำเภอดอนตูม 3 แห่ง อำเภอนครชัยศรี 2 แห่ง อำเภอพุทธมณฑล 2 แห่ง อำเภอกำแพงแสน 1 แห่ง และอำเภอบางเลน 1 แห่ง มีสุกรที่เก็บในห้องเย็นทั้งสิ้น 800-900 ตัน

พลตำรวจโทธนายุตม์  วุฒิจรัสธำรงค์  ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาล ได้สั่งการให้บูรณาการทุกภาคส่วนลงพื้นที่ตรวจแหล่งชำแหละ แช่หรือจัดเก็บเนื้อสุกร เนื่องจากพี่น้องประชาชนได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก จากกรณีมีการนำเนื้อสุกรเข้ามากักตุนในห้องเย็น ทำให้ราคาเนื้อสุกรสูงขึ้น โดยในวันนี้ได้บูรณาการกำลังกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบ 2 แห่งในพื้นที่จังหวัดนครปฐม อย่างไรก็ตามขอให้ผู้ประกอบการอย่ากักตุนเนื้อสุกร อย่าเพิ่มภาระให้กับประชาชน  หากตรวจพบว่าผู้ประกอบการทำความผิดจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

นายสมเกียรติ พูลสุขเสริม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ได้ติดตามรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และมีข้อสั่งการให้ปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม บูรณาการกับฝ่ายปกครอง และพาณิชย์จังหวัด เข้าตรวจสถานที่พักซากสุกร ทุกแห่ง ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 30 แห่งให้แล้วเสร็จพร้อมรายงานผลการตรวจภายในวันอังคารที่ 25 มกราคม 2565 โดยทั้ง 30 แห่ง แบ่งเป็นพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม 16 แห่ง อำเภอสามพราน 5 แห่ง อำเภอดอนตูม 3 แห่ง อำเภอนครชัยศรี 2 แห่ง อำเภอพุทธมณฑล 2 แห่ง อำเภอกำแพงแสน  1แห่ง และอำเภอบางเลน 1 แห่งโดยขอให้ทุกอำเภอลงพื้นที่ตรวจสอบราคาเนื้อสุกรในตลาดสดต่างๆ ว่ามีราคาสูงกว่าที่กรมการค้าภายในกำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนให้พาณิชย์จังหวัดประชาสัมพันธ์โครงการจำหน่ายเนื้อสุกรราคาประหยัดที่มีกว่า 9 แห่งในจังหวัดนครปฐม ซึ่งเปิดจำหน่ายถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 ในราคากิโลกรัมละ 150 บาท

นอกจากนี้ ปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม ได้กล่าวถึงสถานการณ์ โรคอหิวาต์แอฟฟริกาในสุกร (ASF) หลังจากที่มีประกาศเป็นพื้นที่เฝ้าระวังในพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม ขณะนี้สถานการณ์ในภาพรวมไม่พบเชื้อจากตัวสุกรที่ป่วย แต่พบเชื้อในท่อน้ำทิ้งของโรงฆ่าสัตว์ 1 ตัวอย่าง จาก 130 ตัวอย่าง ยังยืนยันว่าเชื้อที่พบนั้นพบในโรงฆ่าสัตว์ แต่ยังไม่พบเชื้อจากการตรวจเลือดจากสัตว์ที่ป่วยแต่อย่างใด  ในเรื่องของมาตรการเชิงรุกของฟาร์มเลี้ยงสุกร หากมีการเคลื่อนย้ายสัตว์ต้องมีการเจาะเลือดตรวจ เมื่อผ่านจึงอนุญาตให้เคลื่อนย้ายได้ เนื่องจาก  .นครปฐม มีโรงฆ่าสัตว์มากที่สุดในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังที่โรงฆ่าสัตว์ด้วย

************************************

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐมข่าว

Related posts